Subject: FW: เผื่อใช้ยามป่วยฉุกเฉิน มีประโยชน์มาก
เรียน ทุกท่านเมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2548 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นในครอบครัวผม โดยน้องชายซึ่งอยู่ดูแลคุณพ่อได้โทร.มาที่ทำงาน บอกว่าคุณพ่อหกล้มไม่สามารถขยับร่างกายได้ และคุณพ่อผมพัก อยู่กับน้องชายเป็นคอนโดมิเนียมแถวสาธุประดิษฐ์ ในซอยสุขสวัสดิ์ 38 ชั้น 5 ผมรีบลางานแล้วเดินทางไป โดยความรีบร้อนไม่ได้แจ้งเหตุให้หน่วยช่วยเหลือใดทราบเลย ระหว่างทางรถแท๊กซี่ที่ผมนั่งไปจากหน้าธนาคารและคุยกันไปบอกว่าให้ติดต่อหน่วยแพทย์กู้ชีพ ซึ่งจะมีความชำนาญในการขนย้ายผู้บาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุได้อย่างดีและรวดเร็ว ผมรีบแจ้งให้น้องชายโทร.ไปขอความช่วยเหลือ 191 ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีโดยบอกให้โทร .ไปที่ 1669 หน่วยแพทย์กู้ชีพนเรนทร เมื่อโทร.ไปและแจ้งจุดเกิดเหตุว่าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ทางศูนย์ให้โทร.ไปที่ 1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ซึ่งน้องชายผมบอกว่าโทร .ไปเพียง10 นาที หน่วยแพทย์กู้ชีวิตได้เดินทางไปถึงเจ้าหน้าที่ทุกท่านมีอุปกรณ์และวิทยุแจ้งอาการคุณพ่อกับแพทย์ที่อยู่ประจำศูนย์เพื่อเช็คอาการขั้นต้นอย่างรวดเร็ว ทำให้น้องชายผมคลายกังวล ขณะนั้นผมยังเดินทางไปไม่ถึงเมื่อไปถึง หน่วยแพทย์ได้นำคุณพ่อมาที่รถพยาบาลพอดีได้นั่งไปด้วยสอบถามเจ้าหน้าที่บอกว่าเมื่อไปถึง คุณพ่อชีพจรอ่อน หายใจไม่สะดวก ขยับส่วนกลางลำตัวไม่ได้ความดันต่ำโดยแพทย์ปลายทางสอบถามอาการตลอดทุก 5 นาทีพร้อมเช็คประวัติคุณพ่อผมไปที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าซึ่งเมื่อเริ่มเดินทางอาการโดยรวมดีขึ้น คุยได้ หายใจปกติ ชีพจรปกติ ความดันปกติมือเท้าขยับได้ผมก็เบาใจลง แต่ไม่สามารถขยับตัวได้ เจ้าหน้าที่ได้ปลอบใจผมว่าอย่างเพิ่งกังวลไป ต้องให้แพทย์เช็คอาการกอ่น ขั้นต้นแพทย์ให้ใส่ที่กันกระดูกเคลื่อนที่คอ และรัดลำตัวไปก่อนด้วยบรรยากาศในรถพยาบาลที่ควรเคร่งเครียดแต่เห็นการช่วยเหลือ และเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่แล้วผมก็เบาใจลงคลายความกังวล เมื่อลงทางด่วน (จากสาธุประดิษฐ์มาอนุสาวรีย์ชัยเจ้าหน้าที่ใช้เวลาเพียง 10 นาที ขับรถเร็วมาก แต่ผมไม่รู้สึกว่าอันตรายเลย มีความมั่นใจในเจ้าหน้าที่มากอยากให้คุณพ่อถึงมือหมอโดยเร็ว) รถติดมากในบริเวณอนุสาวรีย์ ก่อนเข้าวงเวียนไปพระมงกุฎ ผมประทับใจอีกครั้งจากการประสานงานระหว่างรถกู้ชีพกับเครือข่ายแพทย์กทม. ศูนย์วิทยุจราจรกลาง ศูนย์วิทยุตำรวจท้องที่ปิดไฟเขียวตลอดจากรถติด เป็นถนนโล่งภายใน 1-2 นาที ผมถึงโรงพยาบาลพระมงกุฏ ตึกฉุกเฉิน เมื่อถึงมีการรายงานอาการคุณพ่อผมให้พยาบาลและแพทย์ทันทีแบบมืออาชีพ ผมเพิ่งเคยพบกับตนเองประทับใจมาก ทำให้วิกฤตของ ครอบครัวผมผ่านพ้นไปด้วยดีผมได้พยายามให้ค่าตอบแทนเป็นสินน้ำใจเพื่อให้ทั้ง 3ท่านไปทานอาหารกลางวัน ก็ไม่ยอมรับ คำพูดที่ทั้ง 3 ท่านพูดเหมือนกันว่าพี่ยังต้องใช้จ่ายในการรักษาคุณพ่อพี่อีกพวกผมทำด้วยใจรักประกอบกับความมุ่งมั่นที่จะช่วยชีวิตทุกท่านที่มาถึงให้ทันเวลา โดยไม่หวังค่าตอบแทนใดๆ หากจะมีน้ำใจขอช่วยมีหนังสือขอบคุณไปที่ โรงพยาบาลเจิรญกรุงประชารักษ์ ต้นสังกัดก็พอแล้วผมบอกว่าคุณพ่อผมเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นทหารผ่านศึกรักษาที่โรงพยาบาลนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ก็ไม่ยอมรับผมเห็นว่าการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์ดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมจึงขอยกย่องชื่นชมเป็นอย่างสูง โดยได้ทำหนังสือไปขอบคุณแล้ว เมื่อพบ Mail ด้านล่างจึงแจ้งสิ่งที่ผมได้สัมผัสมาเป็นข้อยืนยันอีกครั้งหนึ่งขอเพิ่มเติมข้อมูลว่าหมายเลข 1669 เป็นของ หน่วยแพทย์กู้ชีพนเรนทร เรียกได้เมื่อเกิดเหตุนอกเขตกทม. เช่น นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้นหมายเลข 1554 เป็นของ หน่วยแพทย์กู้ชีวิต โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กทม. เรียกได้เมื่อเกิดเหตุในเขตพื้นที่ กทม(ผมสอบถามเจ้าหน้าที่บอกว่ารถไม่ได้จอดอยู่เฉพาะในรพ. แต่กระจาย อยู่ทั่วพื้นที่ กทม. ปกติไปถึงที่หมายไม่เกิน 10 นาที โดยขอให้ผู้เรียก มารอรับได้จะรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่รู้จุดเกิดเหตุ)หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านบ้างไม่มากก็น้อย พร้อมทั้งขออภัยด้วยหาก Mail นี้รบกวนท่าน
ปัญญา ยานะรักษ์
เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน นอกจากช่วยเหลือตนเองแล้วขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้จัดระบบช่วยเหลือผู้ประสบภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินดังกล่าวนี้เพียงกดโทรศัพท์ไปที่ หมายเลข 1669 จะมีคำแนะนำให้และหากจำเป็นจะมีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินไปช่วยเหลือคุณถึงที่เกิดเหตุ(ฟรี) ซึ่งขณะนี้เราจัดได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศไทย ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้งวันทำการและวันหยุดแล้วครับ อย่าลืมนะครับ ป่วยฉุกเฉินโทรหมายเลข 1669 นะครับ
และได้ผลเป็นอย่างไรกรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับส่งต่อไปให้ทราบทั่วๆ กันด้วยครับ จักเป็นพระคุณยิ่ง
นพ. สุรจิต สุนทรธรรม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
จดหมายเลข 1669 ไว้ตัวโตๆที่ข้างโทรศัพท์ก็จะดี และแนะนำต่อว่า ให้พิมพ์วิธีการบอกเส้นทางมาบ้าน แปะติดไว้ด้วย โดยเฉพาะ ถ้ามีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน เพราะ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน มักจะตื่นเต้น บอกเส้นทางผิดๆถูกๆ ตะกุกตะกัก เสียเวลาในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน
Post a Comment