Friday, May 25, 2007

15บาทของเรา 15บาทของเขา

มีคนส่งมาให้อ่านค่ะ... เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำมาให้อ่านกัน
เรื่องนี้เป็นเพราะความบังเอิญที่บ่ายวันนั้นฝนตก ตัวเองก็รีบจะไปเจอเพื่อนที่รออยู่บีทีเอสหมอชิต ตัดสินใจรีบวิ่งขึ้นแท็กซี่ที่จอดเรียงกันอยู่โดยไม่มองว่ารถคันนั้นมีสภาพยังไง เข้ามานั่งแล้วถึงได้รู้ว่าเป็นรถแท็กซี่รุ่นเก่า (คันเล็ก แอร์ไม่เย็น แล้วก็จะมืดๆ หน่อยอ่ะค่ะ คือ มองจากข้างนอกจะเห็นข้างในไม่ค่อยชัด)
ตอนนั้นก็คิดแค่ว่า เออ... แค่นี้เอง เดี๋ยวก็ถึง ร้อนหน่อย ไม่เป็นไร นั่งไปได้สักพัก รถติด คุณลุงคนขับรถก็หันมาถามประมาณว่า มีแบงค์ย่อยรึเปล่า ลุงไม่มีเงินทอน นี่เป็นรอบแรกของวันนี้เลย...?
เราเห็นว่าตอนนั้นมันจะสี่โมงเย็นแล้ว แต่ลุงบอกว่าเป็นเที่ยวแรกของวันนี้ ก็เลยถามว่า ลุงเข้ากะบ่ายหรือคะ? คุณลุงตอบกลับว่า ลุงขับมาตั้งแต่ตีสี่แล้ว นี่รถของลุงเอง วนไปวนมาอยู่หลายรอบแล้ว แต่ไม่มีลูกค้าเลย. อ้าว...ทำไมล่ะคะลุง ตอนนั้นก็ชวนคุณลุงคุยแบบไม่ได้ติดใจอะไร ถามไปเรื่อย...
รถลุงเก่า คนเค้าก็ไม่อยากนั่ง แต่ลุงเข้าใจนะ มันก็เป็นเงินของเค้า รถเก่า รถใหม่ ค่าโดยสารมันเท่ากัน เป็นลุงลุงก็อยากได้ที่มันดีๆ เหมือนกัน เด็กๆ เดี๋ยวนี ้เค้าก็ชอบรถที่มีสีๆ กัน น้ำเสียงคุณลุงตอนนั้น เป็นน้ำเสียงเหมือนจะขำๆ แบบเล่าสู่กันฟังมากกว่าจะประชดประชันนะคะ
แล้วลุงก็เปลี่ยนเรื่อง ถามว่า "รถไฟฟ้านี่ เค้าคิดเงินกันยังไง" ก็เลยอธิบายเรื่องราคาให้ลุงฟัง แล้วลุงก็ถามว่า ทำยังไง... ถ้าทำไม่เป็นจะมีใครช่วยไหม...? ลูกชายลุงมันอยากจะลองนั่ง แต่ลุงก็ทำไม่เป็น ไม่เคยเห็นว่าเป็นยังไง ไม่กี่วันจะถึงวันเกิดมันแล้ว! ลุงสัญญาว่า จะพามันมานั่งดูสักรอบ คงจะชอบนะหนู ลุงเคยพามันมาดู แต่วันนั้นไม่มีเงินจะให้นั่ง สมัยนั้น บีทีเอส สร้างเสร็จ และเปิดใช้งานแล้วเกือบสามปี...น้ำเสียงตอนคุณลุงเล่า ฟังดูมีความสุขนะคะ คุณลุงยิ้มให้เราทางกระจก
คำพูดของคุณลุง ทำให้เราตื้อขึ้นมา ไม่รู้ว่าจะตอบยังไงดี ได้แต่พยักหน้าแล้วก็ยิ้มตอบ ทั้งสองเรื่องที่ลุงพูดมา เรื่องรถแท็กซี่เก่าของลุง เราฟังแล้วก็ได้แต่ยิ้มเจื่อนๆ ให้ลุงไป เพราะเราเองก็รู้ตัวดีอยู่ว่า เป็นหนึ่งใน เด็กๆ เดี๋ยวนี้ ที่มักจะเลี่ยงนั่งรถเก่าๆ และมักจะยอมเสียเวลาเป็นครึ่งชั่วโมง เพื่อรอรถแท็กซี่ใหม่ๆ ผ่านมา เรารู้ดีว่าแม้แต่การนั่งรถของคุณลุงในครั้งนี้ มันก็เป็นแค่ความบังเอิญ ถ้าฝนไม่ตก ถ้าเราไม่รีบ เราก็คงไม่เรียกรถของคุณลุง
หลังจากนั้นเราก็คิดว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลที่เราสามารถ เลือกในสิ่งที่เราต้องการได้ แต่ถ้าสิ่งที่เราเลือกทำมันมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย เราก็ไม่คิดว่ามันจะเสียหายอะไร (แท็กซี่ใหม่ก็ไม่ผิดหรอกค่ะ เพราะในจำนวนนั้นก็มีคนที่ลำบาก หาเช้ากินค่ำเช่นกัน) ส่วนเรื่องรถไฟฟ้า เรื่องของลูกชายคุณลุง ทำให้เรากลับมามองตัวเอง เราใช้รถไฟฟ้าไปไหนมาไหนตลอด บางครั้งไม่มีอะไรทำก็ชอบไปนั่งเล่นด้วยซ้ำ จะใช้ทีก็แทบจะไม่ต้องคิดเลย แต่สำหรับลูกชายคุณลุง มันคือ ของขวัญวันเกิด เป็นความต้องการที่แทบจะต้องใช้คำว่า ความฝัน ด้วยซ้ำ เงิน แค่ สิบห้าบาทของเรา กับ เงิน ตั้ง สิบห้าบาท ของเค้า หดหู่ค่ะ วันนั้นลงจากรถคุณลุงมาก็เล่าให้เพื่อนฟัง คิดถึงตัวเองที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย ทั้งที่หาเงินเองไม่ได้ คิดถึงหลายๆ อย่างในชีวิต ที่ได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องดิ้นรน...

Monday, May 21, 2007

Self - fulfilling prophecy


เรียนรู้จากปู่เย็น

1137 : รถเสียช่วยฟรี

สำหรับผู้ใช้รถ หรือ ผู้ที่ไม่ได้ใช้รถส่วนตัว จะไปบอกต่อกันก็ได้
ช่วยกันบอกต่อ ๆ ไป รถเสียช่วยฟรี กด 1137


ชาวกรุงซึ้งน้ำใจ รถเสียช่วยฟรี 24 ชม. รถเสียกลางกรุงไม่ต้องตกใจ กด 1137
เรียกใช้บริการช่างซ่อมอาสาได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ตามโครงการ "ปันน้ำใจช่วยเหลือสังคม"
ช่วยป้องกันทั้งโจรในคราบพลเมืองดีและภัยสุภาพสตรีที่รถเกิดเสียกลางทาง
เผยคนยังเรียกใช้น้อย เพราะส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก
วอนรัฐช่วยส่งเสริมสนับสนุน ขณะที่ผู้คนในสังคมต่างดิ้นรนเอาตัวรอด
ส่งผลให้ผู้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น เสียสละต่อผู้อื่นน้อยลง และไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวเรื่องของคนอื่น
แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนหนึ่ง แม้จะไม่มากนัก
แต่ก็พร้อมจะทำงานที่เสียสละช่วยเหลือคนอื่น โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน
อย่างกลุ่มคนในโครงการ"ปันน้ำใจช่วยเหลือรถจอดเสียกลางทาง"
นายกฤตวิทย์ ศรีพสุธา เจ้าของโครงการ" ปันน้ำใจช่วยเหลือรถจอดเสียกลางทาง" กล่าวถึงที่มาโครงการนี้ว่า
เห็นข่าวผู้หญิงรถเสียในเวลากลางคืนและเกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา โดยพวกมิจฉาชีพคอยทำร้ายชิงทรัพย์
รวมไปถึงทำตัวเป็นพลเมืองดีในคราบโจร แล้วน่าเป็นห่วง นอกจากนี้จากการสำรวจดูยังพบว่า
มีรถเก่าจอดเสียอยู่ข้างทางไกลบ้านและไม่มีใครดูแล จึงได้หารือกับ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล ผบก.จร .
เพื่อหาทางแก้ไข ให้ประชาชนมีที่พึ่ง เพราะเชื่อว่าในสังคมไทยยังมีคนดีอยู่อีกจำนวนมาก

บทสรุปที่ได้คือ ให้ตำรวจแต่ละท้องที่จัดหาอู่ซ่อมรถ จัดซื้อรถลากรถยกไว้ให้บริการ
โดยมีตำรวจโครงการพระราชดำริมาร่วมด้วยช่วยกัน
ปรากฏว่าเจ้าของอู่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยไม่คิดค่าแรง และบอกว่า ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
เพราะต้องการช่วยประชาชนอยู่แล้ว แต่ไม่มีโอกาส
นายกฤตวิทย์ กล่าวว่า เพื่อสร้างความเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่
จึงกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ออกให้บริการต้องติดบัตร ใส่ชุดฟอร์ม และไม่รับค่าตอบแทน
เพราะทุกคนทำด้วยใจรัก"บริษัทได้ทำประกันอุบัติเหตุให้เป็นค่าตอบแทน 1 ปี
ถึงขณะนี้การช่วยเหลือยังน้อยอยู่ เดือนหนึ่งประมาณ50-60 ราย
เฉลี่ยวันละ 4-5 ราย แต่ในช่วงคืนฝนตกจะมีคนเรียกใช้มากถึงวันละ 10 ราย"

ผู้ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวและยอมรับว่า โครงการ "ปันน้ำใจช่วยเหลือรถจอดเสียกลางทาง"
ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนยังไม่ทราบว่ามีโครงการนี้
หากมีการประชาสัมพันธ์มากกว่าที่เป็นอยู่ เชื่อว่าจะมีคนที่เดือดร้อนขอใช้บริการมากกว่านี้
และน่าจะมีอู่ซ่อมรถยนต์มาร่วมช่วยเหลือมากขึ้น "ถ้าผู้ใช้รถไม่ฟัง จส. 100 จะไม่รู้ว่ามีโครงการนี้
อย่างไรก็ดี ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่เชื่อใจว่าจะช่วยเหลือจริงหรือเปล่า จะหวังอะไรหรือไม่ ถ้าทำอย่างโปร่งใส
คนจะเชื่อใจและใช้บริการมากขึ้น เราก็พร้อมจะขยายขอบข่ายการช่วยเหลือออกไป
เพราะโครงการนี้ตั้งเป้าใช้งบไว้ 4ล้านบาท แต่ทำจริงๆ ใช้เงินเพียง 1.69 ล้านบาทเท่านั้น"

นายกฤตวิทย์ กล่าวและย้ำว่า คนที่ต้องการความช่วยเหลือจากรถเสีย
กดโทรศัพท์แจ้งเรื่องได้ที่ 1137

บทเรียนจากความรักและความเชื่อมั่น

ฉันเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยแรงกระตุ้นจากเพื่อนฝูงรอบข้าง
ฉันเป็นอดีตครูสอนดนตรีในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งซึ่ง
ชอบหารายได้พิเศษจากการสอนให้นักเรียนที่สนใจเรียนเปียโน
ฉันมีประสบการณ์มากมายจากนักเรียนพิเศษเหล่านั้น
และร็อบบี้ก็เป็นเด็กคนหนึ่งในนั้นที่ฉันจะนำมาเล่าให้ฟัง
ฉันพบร็อบบี้เป็นครั้งแรกเมื่อแม่ของเขาส่งมาให้เรียนเปียโน
ร็อบบี้เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี ซึ่งความจริงแล้วเขาอายุมากเกินไป
ที่จะเริ่มต้นเรียนเปียโนกับฉัน เพราะฉันก็พยายามอธิบายให้ร็อบบี้ฟัง
แต่เขาก็ยังคงยืนยันที่จะเรียนให้ได้ ร็อบบี้บอกฉันว่า
แม่ของเขาซึ่งเลี้ยงลูกชายคนเดียวด้วยตัวเองตามลำพัง

มีความใฝ่ฝันเหลือเกินที่จะได้ยินลูกชายเล่นเปียโนให้ฟังสักครั้งในชีวิต
อย่างไรก็ดี ร็อบบี้ก็ได้เรียนเปียโนกับฉันจนได้
ตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาเริ่มเรียน
ฉันก็รู้สึกได้ทันทีว่าเด็กชายคนนี้ไม่มีพรสวรรค์ทางดนตรีเอาเสียเลย
ยิ่งเขาพยายามมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดถึงการไร้ความสามารถ
และไร้พื้นฐานทางด้านดนตรีโดยสิ้นเชิง

แต่เขาเองก็พยายามที่จะทบทวนบทเรียนขั้นพื้นฐานที่ฉันบังคับ
ให้นักเรียนทุกคนฝึกฝนอยู่เสมอ
ฉันพยายามแล้วพยายามอีกที่จะให้เขาพัฒนาฝีมือขึ้นมา
แต่ช่างดูเหมือนกับแทบจะหมดความหมายเอาเสียจริง ๆ ทุก ๆ
สุดสัปดาห์ที่สิ้นสุดการเรียน ร็อบบี้จะพูดเสมอ ๆ ว่า
“สักวันหนึ่งแม่ผมจะต้องได้ฟังผมเล่นเปียโน”
ฉันไม่เคยได้พูดคุยกับแม่ของเขาเลย
แค่เคยเห็นเธอมาส่งร็อบบี้เรียนเปียโน
แล้วเธอก็นั่งรออยู่ในรถเก่า ๆ ของเธอ
แม่ของร็อบบี้จะเพียงแค่ส่งยิ้มและโบกมือให้ฉัน
แต่เธอไม่เคยแวะเข้ามาสักครั้งเดียว

แล้ววันหนึ่ง ร็อบบี้ก็ไม่ได้มาเข้าเรียนอีก
ฉันคิดว่าจะโทรศัพท์ไปถามข่าวคราวของเขา แต่ก็กลับมาคิดว่า
คงเป็นเพราะร็อบบี้เริ่มรู้ตัวเองว่าไม่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีแน่ ๆแล้ว
จึงตัดสินใจหยุดเรียนไปเสียเฉย ๆ
ฉันเองยังแอบดีใจที่เขาหยุดเรียนไปเสียได้
เพราะเขาคงไม่ใช่นักเรียนตัวอย่างที่ดีที่ฉันสามารถอวดใคร ๆ ได้เลย

หลายสัปดาห์ผ่านไป
ฉันส่งใบปลิวไปยังบ้านบรรดาศิษย์ที่เคยเรียนเปียโนกับฉัน
เพื่อให้มาร่วมงานแสดงเดี่ยวเปียโนของลูกศิษย์รุ่นปัจจุบัน
และฉันก็ต้องประหลาดใจ เมื่อร็อบบี้ซึ่งได้รับใบปลิวด้วย
ได้มาขออนุญาตฉันเข้าร่วมเดี่ยวเปียโน ฉันแย้งไปว่า
นี่เป็นการแสดงของศิษย์ปัจจุบันเท่านั้น ร็อบบี้ได้หยุดเรียนไปนานแล้ว
ฉันคงไม่สามารถให้เข้าร่วมแสดงด้วยได้
ร็อบบี้บอกว่าเพราะแม่ล้มป่วยจึงไม่สามารถพาเขามาส่งให้เรียนเปียโนได้
แต่เขาก็ได้ฝึกซ้อมเปียโนอยู่สม่ำเสมอทุกวัน “ครูครับ
ผมจะต้องเล่นเปียโนในคืนนั้นให้ได้” เขายืนยัน
ไม่รู้ว่าอะไรกันที่ดลใจให้ฉันยอมให้ร็อบบี้ขึ้นแสดงในวันงาน
อาจจะเป็นเพราะความมุ่งมั่นของเขา

หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะบางส่งบางอย่างข้างในที่บอกฉันว่า
ทุกสิ่งจะต้องเป็นไปด้วยดี

เมื่อคืนวันงานมาถึง
ยิมเนเซียมของโรงเรียนมัธยมที่ฉันใช้เป็นห้องแสดงดนตรีนั้น
แน่นขนัดไปด้วยผู้ปกครอง เพื่อนฝูงและญาติพี่น้องของบรรดานักแสดงเปียโน
ฉันให้ร็อบบี้แสดงในช่วงหลังสุด
ก่อนที่ฉันจะต้องออกมากล่าวขอบคุณและเล่นโชว์เองในชุดสุดท้าย
ฉันคิดว่าหากเขาเกิดทำสิ่งใดผิดพลาดขึ้นมา ฉันจะได้รีบออกมากู้หน้า
เพื่อกล่าวขอบคุณและปิดการแสดงเสียเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
นักเรียนทุกคนต่างฝึกฝนกันมาอย่างดี และแสดงออกมาได้อย่างไม่มีที่ติ
และแล้วก็มาถึงช่วงการแสดงของร็อบบี้ เมื่อเขาขึ้นมาบนเวที
เสื้อผ้าของเขายับย่นยู่ยี่ ผมเผ้าก็ไม่ได้หวี ดูกระเซอะกระเซิงไปหมด
ฉันคิดในใจว่า ตายละทำไมแม่ของเขาไม่ดูแลลูกเลย
ทำไมไม่ให้ลูกแต่งตัวเต็มที่เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ทั้ง ๆ
ที่คืนนี้เป็นคืนพิเศษแท้ ๆ
อย่างน้อยก็น่าจะหวีผมเขาให้ดูดีกว่านี้สักหน่อย
ร็อบบี้ดึงม้านั่งเล่นเปียโนออกมาเริ่มต้น
ฉันประหลาดใจมากที่เขาประกาศกับผู้ชมว่า
เขาเลือกที่จะแสดงคอนแชร์โตหมายเลข 21 ของโมสาร์ท ในซีเมเจอร์
ฉันยังไม่ทันได้เตรียมตัวว่าจะต้องฟังอะไรต่อไป
นิ้วของร็อบบี้ก็พรมแผ่วพริ้วไปบนคีย์เปียโน
ราวกับว่านิ้วของเขากำลังเต้นระบำอย่างคล่องแคล่วอยู่บนนั้น
ไม่มีผิดเพี้ยนเลยแม้แต่น้อย ช่างน่ามหัศจรรย์อะไรอย่างนี้
ฉันยังไม่เคยเห็นเด็กชายวัยเท่าร็อบบี้
จะสามารถเล่นเพลงของโมสาร์ทได้ดีเยี่ยมขนาดนี้มาก่อนเลย
เมื่อเวลาหกนาทีครึ่งผ่านไป การแสดงของร็อบบี้ก็สิ้นสุดลง
ผู้คนทุกคนต่างลุกขึ้นยืนปรบมือให้เขาจนเสียงดังสนั่นไปทั้งห้อง
ฉันวิ่งขึ้นไปบนเวทีทั้งน้ำตาคลอโอบกอดร็อบบี้ไว้ด้วยความปลาบปลื้ม
“ครูไม่เคยได้ยินเธอเล่นได้ดีขนาดนี้มาก่อนเลยร็อบบี้
เธอทำได้อย่างไรกัน”
ร็อบบี้ตอบฉันผ่านไมโครโฟนออกไปว่า “จำได้ไหมครับครู
ที่ผมเคยบอกว่าแม่ของผมป่วย แม่ผมป่วยด้วยโรคมะเร็ง
และแม่ก็จากผมไปแล้วเมื่อเช้านี้เอง และความจริงก็คือ
แม่ผมเป็นใบ้หูหนวกมาตั้งแต่เกิด
ดังนั้นคืนนี้จึงเป็นคืนแรกที่แม่จะสามารถได้ยินผมเล่นเปียโน
ผมจึงต้องการทำให้มันพิเศษสุดจริง ๆ สำหรับแม่”
ไม่มีดวงตาคู่ไหนเลยที่จะไม่มีน้ำตาในคืนนั้น
แม้แต่เจ้าหน้าที่จากบ้านเด็กกำพร้าที่มารับร็อบบี้ไปดูแล
ก็ยังมีนัยน์ตาบวมแดงให้ฉันสังเกตเห็น

ฉันไม่เคยได้รับแรงกระตุ้นผลักดันใด ๆ มาก่อนเลย
แต่ในคืนนั้นฉันก็ได้รับจากเขา
ร็อบบี้ต่างหากที่เป็นครูและฉันเองเป็นนักเรียน

ที่สอนให้ฉันได้รู้ความหมายของความเพียรพยายาม...
ความรัก...ความเชื่อมั่นในตัวเองและอาจจะรวมถึงการให้โอกาสใครสักคน
โดยที่เราเองก็ไม่รู้ว่าทำไม

ร็อบบี้เสียชีวิตลงแล้วในการระเบิดที่โอกลาโฮมาซิตี้
เมื่อเดือนเมษายน 1995

Friday, May 18, 2007

วิธีเอาตัวรอดจากการดูดของน้ำวนในทะเล


ขอเชิญบริจาคคอมพิวเตอร์เก่า

จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2549 สถาบันการศึกษาในประเทศไทย

มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการศึกษา ประมาณ 100,000 เครื่อง

หรือคิดเป็นสัดส่วนเรื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียนมากถึง 60 คน



คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมบริจาคคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า ที่อาจถูกเก็บไว้ในชั้นใต้บันได
หรือห้องเก็บของ ไม่เกี่ยงกว่ามันรุ่นไหน หรือ จะบริจาคเป็นอะไหล่เพื่อประกอบเครื่องขึ้นมาใหม่ โดยเราจะจัดส่ง
ไปตามโรงเรียนและชุมชนที่ด้อยโอกาสทั่วประเทศ เพื่อลดช่องว่างของโอกาส ทำให้ชนบท
และ เมือง เป็นดั่งพี่น้องที่ผู้คนเอื้ออาทรต่อกัน



คุณเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นได้

โดยการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่คุณไม่ได้ใช้แล้ว

ผ่านทางโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง ของทางมูลนิธิกระจกเงา

โดยส่งมาได้ที่ เลขที่ 41 อาคารเลิศปัญญา ชั้น 9 ห้อง 907 ซอยเลิศปัญญา

ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400.

โทรศัพท์ 02-642-7991-2 ต่อ 17 โทรสาร 02-642-7991

มือถึอ 086-2662048

Email : c4c@mirrorfoundation.org

แผนที่ http://www.mirrorfoundation.org/map2.jpg

TRIANGLE OF LIFE in an earthquake - life saving information

EXTRACT FROM DOUG COPP'S ARTICLE ON THE "TRIANGLE OF LIFE", จากบทความของ
ดัก คอบบ์ เรื่อง "สามเหลี่ยมชีวิต"
Edited for MAA Safety Committee brief เรียบเรียงสำหรับการสรุปให้คณะกรรมการด้าน
ความปลอดภัย MAA

My name is Doug Copp. I am the Rescue Chief and Disaster Manager of the
American Rescue Team International (ARTI), the world's most experienced
rescue team. The information in this article will save lives in an
earthquake.
ผมชื่อ ดัก คอบบ์ ผมเป็นหัวหน้าหน่วยกู้ภัยและผู้จัดการด้านพิบัติภัยของทีมกู้ภัยนานาชาติแห่งสหรัฐฯ ซึ่ง
เป็นทีมกู้ภัยที่มีประสบการณ์มากที่สุดในโลก ข้อมูลในบทความนี้จะช่วยชีวิตคนในกรณีแผ่นดินไหว

I have crawled inside 875 collapsed buildings, worked with rescue teams
from 60 countries, founded rescue teams in several countries, and one of
the United Nations experts in Disaster Mitigation for two years. I have
worked at every major disaster in the world since 1985.
ผมเคยคลานเข้าไปในตึกที่ถล่มมา 875 ตึก เคยทำงานกับหน่วยกู้ภัยจาก 60 ประเทศ ก่อตั้งหน่วยกู้ภัย
ในหลายประเทศ และเป็นเหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพผู้คนกรณีเกิดพิบัติภัยขององค์การ
สหประชาชาติมา 2 ปี ผมได้ทำงานกับพิบัติภัยใหญ่ๆ ในโลกมาตั้งแต่ปี 1985

In 1996 we made a film, which proved my survival methodology to be correct.
We collapsed a school and a home with 20 mannequins inside. Ten mannequins
did "duck and cover," and the other ten mannequins used my "triangle of
life" survival method. After the simulated earthquake, we crawled through
the rubble and entered the building to film and document the results. The
film showed that there would have been zero percent survival for those
doing duck and cover; and 100 percent survivability for people using my
method of the "triangle of life."
เมื่อปี 1996 เราได้ทำภาพยนต์ขึ้นมาเรื่องหนึ่งซึ่งได้พิสูจน์ว่าวิธีการรักษาชีวิตของผมถูกต้อง เราได้
ถล่มโรงเรียนและบ้านที่มีหุ่นมนุษย์ 20 ตัวอยู่ภายใน หุ่น 10 ตัว "มุดและหาที่กำบัง" และอีกสิบตัวใช้
วิธีการรักษาชีวิตแบบ "สามเหลี่ยมชีวิต" ของผม หลังจากแผ่นดินไหวทดลอง เราคลานผ่านซากปรักหัก
พังและเข้าไปในตึกเพื่อถ่ายภาพและเก็บข้อมูลของผลที่เกิด ในภาพยนต์แสดงให้เห็นว่าอัตราการอยู่รอด
ของพวกที่มุดและหาที่กำบังคือศูนย์ และโอกาสรอด 100% สำหรับพวกที่ใช้วิธี "สามเหลี่ยมชีวิต" ของผม

This film has been seen by millions of viewers on television in Turkey and
the rest of Europe, and it was seen in the USA, Canada and Latin America on
the TV program.
ภาพยนต์ชุดนี้ได้ผ่านสายตาของผู้ชมโทรทัศน์เป็นล้านๆ คนในตุรกี และส่วนที่เหลือของยุโรป เคยออก
อากาศทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา คานาดา และลาตินอเมริกา

The first building I ever crawled inside of was a school in Mexico City
during the 1985 earthquake. Every child was under its desk. Every child was
crushed to the thickness of their bones. They could have survived by lying
down next to their desks in the aisles.
ตึกแห่งแรกที่ผมได้คลานเข้าไปคือโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเม็กซิโกซิตี้ในแผ่นดินไหวปี 1985 เด็กทุก
คนอยู่ใต้โต๊ะเรียน เด็กทุกคนถูกอัดแบนจนกระดูกแหลก พวกเขาอาจจะมีชีวิตรอดด้วยการนอนราบกับพื้น
ตรงบริเวณทางเดินข้างๆ โต๊ะเรียนของตัวเอง

At that time, the children were told to hide under something. Simply
stated, when buildings collapse, the weight of the ceilings falling upon
the objects or furniture inside crushes these objects, leaving a space or
void next to them. This space is what I call the "triangle of life". The
larger the object, the stronger, the less it will compact. The less the
object compacts, the larger the void, the greater the probability that the
person who is using this void for safety will not be injured.
ในเวลานั้น เด็กๆ ได้รับคำแนะนำให้หลบใต้อะไรบางอย่าง อธิบายอย่างง่ายๆ เมื่อตึกถล่ม น้ำหนัก
ของเพดานที่ตกลงมาบนสิ่งของหรือเครื่องเรือนที่อยู่ภายในจะทับทำลายสิ่งของเหล่านั้น เหลือที่ว่างหรือ
ช่องว่างข้างๆ มัน ที่ว่างเหล่านี้คือสิ่งที่ผมเรียกว่า "สามเหลี่ยมชีวิต" สิ่งของชิ้นยิ่งใหญ่ ยิ่งแข็งแรง
โอกาสถูกทับอัดยิ่งน้อย โอกาสที่สิ่งของถูกทับอัดยิ่งน้อย ช่องว่างก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น โอกาสที่คนที่อาศัยช่อง
ว่างเหล่านั้นหลบภัยจะไม่เป็นอันตรายก็ยิ่งมาก

The next time you watch collapsed buildings, on television, count the
"triangles" you see formed. They are everywhere. It is the most common
shape.
ครั้งต่อไปที่คุณดูอาคารที่ถล่มในโทรทัศน์ ลองนับ "สามเหลี่ยม" ที่เกิดขึ้นที่คุณเห็นดู มันทีอยู่เต็มไปหมด
ทุกที่ เป็นรูปทรงที่เห็นได้มากที่สุดอยู่ทั่วไป

TEN TIPS FOR EARTHQUAKE SAFETY
สิบวิธีเพื่อความปลอดภัยยามแผ่นดินไหว

1) Almost everyone who simply "ducks and covers" when buildings collapse
are crushed to death. People who get under objects, like desks or cars, are
crushed.
1) เกือบทุกคนที่ "มุดและหาที่กำบัง" เมื่ออาคารถล่มถูกทับอัดจนตาย คนที่เข้าไปอยู่ใต้สิ่งของ อาทิ
โต๊ะหรือรถยนต์ถูกอัดทับ

2) Cats, dogs and babies often naturally curl up in the fetal position.
You should too in an earthquake. It is a natural safety/survival instinct.
You can survive in a smaller void. Get next to an object, next to a sofa,
next to a large bulky object that will compress slightly but leave a void
next to it.
2) แมว หมา และเด็กทารก โดยธรรมชาติมักจะขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา คุณควรทำเช่น
กันในกรณีแผ่นดินไหว มันเป็นสัญชาติญาณเพื่อความปลอดภัย/รักษาชีวิต คุณสามารถมีชีวิตรอดในช่อง
ว่างที่เล็กกว่า ไปอยู่ข้างๆ สิ่งของ ข้างเก้าอี้โซฟา ข้างของหนักๆ ชิ้นใหญ่ๆ ที่จะบี้แบนไปบ้างแต่ยัง
เหลือที่ว่างข้างๆ มันไว้

3) Wooden buildings are the safest type of construction to be in during an
earthquake. Wood is flexible and moves with the force of the earthquake. If
the wooden building does collapse, large survival voids are created. Also,
the wooden building has less concentrated, crushing weight. Brick buildings
will break into individual bricks. Bricks will cause many injuries but less
squashed bodies than concrete slabs.
3) อาคารไม้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปลอดภัยที่สุดที่จะอยู่ภายในขณะแผ่นดินไหว ไม้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อน
ตัวตามแรงของแผ่นดินไหว ถ้าอาคารไม้จะถล่มจะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เพื่อช่วยชีวิต และอาคารไม้
ยังมีน้ำหนักทับทำลายที่เป็นอันตรายน้อยกว่า อาคารอิฐจะแตกพังเป็นก้อนอิฐมากมาย ก้อนอิฐเหล่านี้
เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ แต่จะทับอัดร่างกายน้อยกว่าแผ่นคอนกรีต

4) If you are in bed during the night and an earthquake occurs, simply roll
off the bed. A safe void will exist around the bed. Hotels can achieve a
much greater survival rate in earthquakes, simply by posting a sign on the
back of the door of every room telling occupants to lie down on the floor,
next to the bottom of the bed during an earthquake.
4) หากคุณกำลังนอนอยู่บนเตียงตอนกลางคืนและเกิดแผ่นดินไหว เพียงกลิ้งลงจากเตียง ช่องว่างที่
ปลอดภัยจะเกิดรอบๆ เตียง โรงแรมจะสามารถเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวได้ โดยเพียงติด
ป้ายหลังประตูในทุกห้องพักบอกให้ผู้เข้าพักนอนราบกับพื้นข้างๆ ขาเตียงระหว่างแผ่นดินไหว

5) If an earthquake happens and you cannot easily escape by getting out the
door or window, then lie down and curl up in the fetal position next to a
sofa, or large chair.
5) หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นและคุณไม่สามารถหนี้ออกมาง่ายๆ ทางประตูหรือหน้าต่าง ก็ให้นอนราบและ
ขดตัวในท่าทารกในครรภ์ข้างๆ เก้าอี้โซฟาหรือเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ

6) Almost everyone who gets under a doorway when buildings collapse is
killed. How ? If you stand under a doorway and the doorjamb falls forward
or backward you will be crushed by the ceiling above. If the doorjamb falls
sideways you will be cut in half by the doorway. In either case, you will
be killed!
6) เกือบทุกคนที่อยู่ตรงช่องประตูตอนตึกถล่มไม่รอด เพราะอะไร? หากคุณยืนอยู่ตรงช่องประตูและวง
กบประตูล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลัง คุณจะโดนเพดานด้านบนตกลงมาทับ หากวงกบประตูล้มออกด้านข้าง
คุณจะถูกตัดเป็นสองท่อนโดยช่องประตู ไม่ว่ากรณีไหน คุณไม่รอดทั้งนั้น!

7) Never go to the stairs. The stairs have a different "moment of
frequency" (they swing separately from the main part of the building).The
stairs and remainder of the building continuously bump into each other
until structural failure of the stairs takes place. The people who get on
stairs before they fail are chopped up by the stair treads - horribly
mutilated. Even if the building doesn't collapse, stay away from the
stairs. The stairs are a likely part of the building to be damaged. Even if
the earthquake does not collapse the stairs, they may collapse later when
overloaded by fleeing people. They should always be checked for safety,
even when the rest of the building is not damaged.
7) อย่าใช้บันไดเด็ดขาด บันไดมี "ช่วงการเคลื่อนตัว" ที่แตกต่างไป
(บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) บันไดและส่วนที่เหลือของตัวอาคารจะชนกระแทกกันอย่างต่อ
เนื่องจนเกิดปัญหากับโครงสร้างของบันได คนที่อยู่บนบันไดก่อนที่บันไดจะถล่มถูกตัดเป็นชิ้นโดยชั้น
บันได--ถูกแยกส่วนอย่างน่าสยดสยอง ถึงอาคารจะไม่ถล่มก็ควรอยู่ห่างบันไดไว้ บันไดเป็นส่วนของ
อาคารที่มีโอกาสถูกทำให้เสียหาย ถึงแม้แผ่นดินไหวจะไม่ได้ทำให้บันไดถล่ม มันอาจถล่มในเวลาต่อมา
เมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปจากคนที่กำลังหนี้ มันควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยเสมอ ถึงแม้ส่วนที่
เหลือของอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม

8) Get near the Outer Walls Of Buildings or Outside Of Them if possible.
It is much better to be near the outside of the building rather than the
interior. The farther inside you are from the outside perimeter of the
building the greater the probability that your escape route will be
blocked.
8) ไปอยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการดีกว่ามากที่จะอยู่
ใกล้ส่วนนอกของอาคารมากกว่าจะอยู่ที่ส่วนในของอาคาร คุณยิ่งอยู่ลึกเข้าไปหรือไกลจากบริเวณภาย
นอกของอาคารมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทางหนี้ของคุณจะถูกปิดกั้นยิ่งมีมาก

9) People inside of their vehicles are crushed when the road above falls in
an earthquake and crushes their vehicles; which is exactly what happened
with the slabs between the decks of the Nimitz Freeway. The victims of the
San Francisco earthquake all stayed inside of their vehicles. They were all
killed. They could have easily survived by getting out and sitting or lying
next to their vehicles. Everyone killed would have survived if they had
been able to get out of their cars and sit or lie next to them. All the
crushed cars had voids 3 feet high next to them, except for the cars that
had columns fall directly across them.
9) คนที่อยู่ภายในรถยนต์ถูกทับอัดเมื่อถนนด้านบนตกลงมาเพราะแผ่นดินไหวและทับรถของพวกเขา นี้เป็น
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแผ่นคอนกรีตระหว่างชั้นของถนนหลวงนิมิทซ์ ผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดจากแผ่นดินไหวที่ซาน
ฟรานซิสโกอยู่ในรถของตัวเอง พวกเขาตายทั้งหมด พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดได้ง่ายๆ ด้วยการออก
จากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างๆ รถตัวเอง คนที่ตายทุกคนอาจรอดได้ถ้าพวกเขาสามารถออกจากรถ
และนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างรถตัวเอง รถที่ถูกทับอัดทุกคันมีช่องว่างสูง 3 ฟุตอยู่ข้างๆ ยกเว้นรถที่ถูกเสา
คาดตกทับกลางคันรถ

10) I discovered, while crawling inside of collapsed newspaper offices and
other offices with a lot of paper, that paper does not compact. Large
voids are found surrounding stacks of paper.
10) ผมค้นพบ--ขณะที่คลานเข้าไปในซากสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานอื่นที่มีกระดาษจำนวน
มาก--ว่ากระดาษไม่อัดตัว จะพบช่องว่างขนาดใหญ่รอบๆ กองกระดาษที่เรียงทับซ้อนกัน

Spread the word and save someone's life.
กระจายข้อมูลนี้และช่วยชีวิตคนบางคน

ทึ่ง! พระนำของบริจาค แลกแรงงานสร้างถนน

ทึ่ง! พระนำของบริจาค แลกแรงงานสร้างถนน

เรื่องของพระสงฆ์ที่มีแนวคิดในการว่าจ้างแรงงาน ด้วยการใช้วิธีนำของที่ได้รับมาแลกเปลี่ยน เกิดขึ้นโดย เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่มีโครงการร่วมมือกับชาวบ้านจะทำการสร้างถนนจำนวน 5 สาย เชื่อมระหว่าง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก กับ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร กับสะพานอีก 2 แห่ง

สำหรับการสร้างดังกล่าวจะใช้แรงงานคน และจอบเสียม โดยไม่ใช้เครื่องจักรหรือรถทำถนนแต่อย่างใด อีกทั้งไม่พึ่งพาเงินงบประมาณจากทางราชการ ขณะนี้ประสบผลสำเร็จไปแล้ว 1 โครงการ ระยะทางร่วม 57 กิโลเมตร และกำลังดำเนินการโครงการที่ 2 อย่างต่อเนื่อง โดยลักษณะการก่อสร้างคล้ายกับที่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยในอดีตที่เคยลงมือสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพมาแล้วเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน

เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล เปิดเผยถึงแนวคิดการสร้างถนนว่า ก่อนหน้านี้ได้ไปธุดงค์และจำพรรษาตามวัดต่างๆบริเวณ จ.เชี ยงใหม่ และ จ.ตาก ซึ่งอยู่ตามถิ่นทุรกันดาร ต้องเดินทางขึ้นลงเขาด้วยการเดินเท้าโดยเฉพาะในช่วงฤดหนาวต้องต้องแบกขนสิ่งของขึ้นไปในหมู่บ้านที่อยู่บนยอดดอยและมีชาวบ้านที่มีจิตศรัทธามาบริจาคสิ่งของจำนวนมาก แต่ด้วยความยากลำบากจึงเดินทางมาเพียงครั้งเดียว เพราะเส้นทางการเดินทางลำบากมาก

"บางครั้งเมื่อมีเสื้อผ้า และผ้าห่มที่ได้รับมา อาตมาต้องการที่จะนำขึ้นไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งมีอยู่จำนวนมากในหุบเขาและพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่ด้วยลำบากทำให้สิ่งของจำเป็นที่ได้มาไม่ถึงมือประชาชน ประกอบกับเห็นชาวบ้านที่อยู่บนดอยเมื่อเจ็บป่วยจะเดินทางไปโรงพยาบาลก็ลำบาก

นอกจากนี้การที่จะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานรัฐ เช่น เดินทางไปที่ว่าการอำเภอก็ลำบาก เด็กเล็กไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเพราะระยะทางการเดินทางไกล ทำให้จบการเพียงระดับชั้นประถมในหมู่บ้านโดยไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง เมื่อชาวบ้านร้องขอผ่านไปยังหน่วยงานราชการก็จะติดขัดเรื่องงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม ระยะหลังได้รับสิ่งของที่มีประชาชนนำมาถวายจากการทำบุญเป็นจำนวนมาก ทั้งข้าวสาร อาหารแห้งจึงมีความคิดที่จะนำเอาสิ่งอุปโภคบริโภคเหล่านี้ขึ้นไปให้ชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร โดยนำไปแลกกับแรงงานชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งแลกเปลี่ยนเป็นค่าแรงงาน มูลค่าประมาณ 50 บาท ต่อคน ต่อวัน เพื่อขอให้ชาวบ้านได้เข้ามาช่วยกันสร้างทางเป็นถนนเข้าหมู่บ้านและตัดต่อไปยังถนนใหญ่

เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล กล่าวต่อว่า การสร้างถนนจะเชื่อมต่อจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังหมู่บ้านหนึ่ง จากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่งเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางของชาวบ้าน และปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เนื่องจากทุกคนมองเห็นความสำคัญ จึงได้นำจอบเสียมของตนเองที่มีอยู่ออกมาช่วยกันสร้างทางโดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวเขาโดยเฉพาะเผ่ากะเหรี่ยง ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี บางครั้งมีชาวบ้านมาช่วย 20 คน บางครั้งมีมากถึง 200 คน ขึ้นอยู่กับหมู่บ้านไหนที่มีคนมากน้อย

ส่วนแนวคิดในการร่วมกับชาวบ้านใช้จอบสร้างถนนนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2541ขณะนี้ได้สร้างถนนลำลอง 3 สายมาบรรจบกันแล้ว รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ปี 4 เดือน จากเขต อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ถึงเขต อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และสามารถทำสำเร็จไปแล้วเมื่อปี 2545 โดยไม่ได้ใช้งบประมาณทางราชการแต่อย่างใดและขณะนี้ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ละปีจะได้ระยะทางที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแรงศรัทธาของชาวบ้านที่ร่วมใจเปลี่ยนสภาพจากเส้นทางป่าสำหรับเดินเป็นเส้นทางรถจักรยานยนต์และขยายจนเป็นเส้นทางรถยนต์วิ่งสัญจรได้สะดวกขึ้น

"หากครั้งใดที่ได้สิ่งของถวาย จำพวกของอุปโภคบริโภคจำนวนมากจะนำมาแลกเปลี่ยนเป็นแรงงานชาวบ้านได้มาก ปัจจุบันนี้เส้นทางลำลองดังกล่าวทั้งคนและรถสามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการสร้างโครงการที่ 2 ต่อ เนื่องจากปัจจุบันยังมีชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารยังเดือดร้อน อยากมีเส้นทางการสัญจรที่สะดวก"

เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล กล่าวว่า โครงการที่ 2 ได้เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2550 จะดำเนินการสร้าง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 38 กิโลเมตร กับสะพานอีก 2 แห่ง เพื่อเชื่อมบรรจบให้เป็นสายเดียวจาก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ไปยัง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ขณะนี้คืบหน้าไปแล้วประมาณ 7-8 กิโลเมตร

"อยากเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญบริจาคจอบ เสียม เกลือ ปลาเค็ม มะพร้าว เพื่อตอบแทนเป็นค่าแรงงานให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะเกลือเม็ดเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับชาวดอย อยากให้บริจาคเป็นสิ่งของมากกว่าเงิน รวมถึงมะพร้าวแห้งเพื่อนำเอาไปเพาะปลูกบริเวณริมลำห้วย หัวไร่ปลายนาบ้านป่าจะมีมะพร้าวไว้กินเป็นการส่งเสริมปลูกป่าไปด้วย "

เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล กล่าวด้วยว่า การทำบุญสร้างถนนหนทางถือว่าจะได้บุญมาก เพราะจะทำให้ชาวบ้านสามารถสัญจรไปมาได้สะดวก อุปสรรคต่างๆที่เคยมีจะลดน้อยลง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับประวัติเจ้าคุณพิศาลประชานุกูล เป็นชาวกะเหรี่ยง อายุ 47 ปี พรรษา 24 วิทยฐานะ น.ธ.เอก คบ.ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์อบรมศีลธรรมาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงบ้านแม่สลิดหลวง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เกิดเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2503 มารดาชื่อนางบือเตาะ สุขสมบัติธรรม ที่บ้านเลขที่ 13 หมู่ 4 ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2518 ณ วัดแม่ต้านเหนือ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ณ พัทธสีมาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม. ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยใช้ชื่อ พระปลัดดำริ ฉายา อิทธิมนฺโต ก่อนจะได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ เจ้าคุณพิศาลประชานุกูล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 เป็นพระธรรมจาริกชาวกะเหรี่ยงรูปแรกที่ได้รับพระราชทานตั้งเป็นสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญ ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติแก่โครงการพระธรรมจาริกเป็นอย่างยิ่ง


ติดต่อได้ที่
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
วัดศรีโสดา ต. สุเทพ อ.เมือง จ. เชียงใหม่ 50200

ลุงแจวเรือจ้าง...กับหนุ่มนักเรียนนอก...

เด็กหนุ่มคนหนึ่ง...เป็นชาวสงขลา...

เรียนเก่งมาก...

ได้ทุนไปเรียนอเมริกา...ตั้งแต่เด็ก...จนจบด็อกเตอร์...

จึงกลับมาเยี่ยมบ้าน...



บ้านของเด็กหนุ่ม...

อยู่อีกฟากหนึ่ง...ของทะเลสาบสงขลา...

ต้องนั่งเรือแจว...ข้ามไป...ใช้เวลาแจวประมาณหนึ่งชั่วโมง...



เรือที่ติดเครื่องยนต์...ไม่มีเหรอ...ลุง...?

ไม่มีหรอกหลาน...ที่นี่มันบ้านนอก...

มันห่างไกลความเจริญ...มีแต่เรือแจว...



โอ...ล้าสมัยมากเลยนะลุง...โบราณมาก...

ที่อเมริกา....เขาใช้เครื่องบินกันแล้วลุง...ลุงยังมานั่งแจวเรืออยู่อีก...



ไปส่งผมฝั่งโน้น...เอาเท่าไร...ลุง...?

80 บาท...

OK...ไปเลยลุง...



ในขณะที่ลุงแจวเรือ...

หนุ่มนักเรียนนอก...ก็เล่าเรื่องความทันสมัย...

ความก้าวหน้า...ความศิวิไลช์...ของอเมริกาให้ลุงฟัง...



เมืองไทย...เมื่อเทียบกับอเมริกาแล้ว...ล้าสมัยมาก...

ไม่รู้คนไทย...อยู่กันได้ยังไง...?



ทำไมไม่พัฒนา...ทำไมไม่ทำตามเขา...เลียนแบบเขาให้ทัน...?

ลุง...ลุงใช้คอมพิวเตอร์...ใช้อินเตอร์เน็ต...เป็นไหม...?

ลุงไม่รู้หรอก...ใช้ไม่เป็น...

โอโฮ้...ลุงไม่รู้เรื่องนี้น่ะ....ชีวิตลุงหายไปแล้ว...25 %....



แล้วลุงรู้ไหมว่า...เศรษฐกิจของโลก...ตอนนี้เป็นยังไง...?

ลุงไม่รู้หรอก...

ลุงไม่รู้เรื่องนี้นะ...ชีวิตของลุงหายไป...50 %



ลุง...ลุงรู้เรื่องนโยบายการค้าโลกไหม...ลุง...?

ลุง...ลุงรู้เรื่องดาวเทียมไหม...ลุง...?

ลุงไม่รู้หรอก...หลานเอ๊ย...

ชีวิตของลุง...ลุงรู้อยู่อย่างเดียว...

ว่าจะทำยังไง...ถึงจะแจวเรือให้ถึงฝั่งโน้น...

ถ้าลุงไม่รู้เรื่องนี้...ชีวิตของลุง...หายไปแล้ว...75 %



พอดีช่วงนั้น...

เกิดลมพายุพัดมาอย่างแรง...คลื่นลูกใหญ่มาก...ท้องฟ้ามืดครึ้ม...

นี่พ่อหนุ่ม...เรียนหนังสือมาเยอะ...จบดอกเตอร์จากต่างประเทศ...

ลุงอยากถามอะไรสักหน่อยได้ไหม...?

ได้...จะถามอะไรหรือลุง...?



เอ็งว่ายน้ำเป็นไหม...?

ไม่เป็นจ๊ะ...ลุง....



ชีวิตของเอ็ง...กำลังจะหายไป 100 % ...แล้วพ่อหนุ่ม...